วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ูตรการทำปุ๋ยหมักง่ายๆแต่คุณภาพเข้ม

การทำปุ๋ยหมักคือการนำเอาเศษซากหรือวัสดุต่างๆ ที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่ได้มาจากพืช เช่น เศษหญ้า ใบไม้ ฟางข้าว ผักตบชวาหรือแม้แต่ขยะมูลฝอยตามบ้านเรือนมากองรวมกัน รดน้ำให้มีความชื้นพอเหมาะ หมักไว้จนกระทั่งเศษพืชหรือวัสดุเหล่านั้นย่อยสลายและแปรสภาพไป กลายเป็นขุยสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม มีลักษณะพรุน ยุ่ย ร่วนซุย ที่เรียกว่า "ปุ๋ยหมัก" การย่อยและการแปรสภาพของเศษพืชหรือวัสดุดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆ ที่เรียกว่า "จุลินทรีย์" ซึ่งอาศัยอยู่ในกองปุ๋ยสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเหล่านี้มีอยู่ มากมายหลายชนิดปะปนกันอยู่และพวกที่มีบทบาทในการแปรสภาพวัสดุมากที่สุดได้แก่ เชื้อราและเชื้อบักเตรี

วิธีการหมักวัสดุต่างๆ ให้กลายเป็นปุ๋ยหมัก อาจทำใด้หลายๆ วิธี แตกต่างกันไป เช่น การหมักเศษพืชแต่เพียงอย่างเดียวหรือมีการเติมมูลสัตว์หรือปุ๋ยเคมีลงไปในกองปุ๋ยด้วย เพื่อเร่งให้เศษวัสดุแปรสภาพได้เร็วขึ้น การใส่ผงเชื้อจุลินทรีย์เพิ่มเติมลงไปกองปุ๋ยเพื่อเสริมเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติหรือการมีรูปแบบของการกองปุ๋ยแตกต่างกันไป ซึ่งแต่ละวิธีอาจใช้ระยะเวลาในการหมักไม่เท่ากัน และปุ๋ยหมักที่ได้ก็มีคุณภาพแตกต่างกันไปๆ ที่ช่วยรักษาและปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินได้เป็นอย่างดี

เมื่อเอาเศษพืชหรือวัสดุที่จะใช้หมักมากองรวมกัน ทำการผสมคลุกเคล้า กับมูลสัตว์และปุ๋ยเคมี รดน้ำให้กองปุ๋ยมีความชื้นพอเหมาะ หมักไว้ เมื่อสภาพ ภายในกองเศษพืชเหมาะสม จุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่ติดมากับวัสดุที่ใช้หมักก็ จะเริ่มเจริญเติบโตเพิ่มจำนวน ขึ้นมาโดยการเข้าย่อยสลายวัสดุที่เรานำมาหมัก เพื่อใช้เป็นอาหารในช่วงแรกๆนี้ ภายในกองวัสดุจะมีอาหาร ชนิดที่จุลินทรีย์ สามารถใช้ได้ง่ายๆ อยู่เป็นจำนวนมาก จุลินทรีย์เหล่านั้นจึงเจริญเติบโตและเพิ่ม จำนวนขึ้นมาอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้เกิดความร้อนขึ้นมาในกองปุ๋ย ดังนั้นนับตั้งแต่

เริ่มตั้งกองปุ๋ยขึ้นมา กองปุ๋ยจะเริ่มมีความร้อนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถ้าทำการกองปุ๋ยได้ ถูกวิธี ภายในระยะเวลาเพียง 3-5 วัน กองปุ๋ยอาจร้อนถึง 55-70 องศาเซลเซียส ความร้อนที่เกิดขึ้นนี้ มีความสำคัญมาก เพราะจะทำให้เศษพืชย่อย สลายได้รวดเร็วและช่วยกำจัดจุลินทรีย์หลายชนิดที่ไม่ต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกที่ทำให้เกิดโรคกับคนหรือกับพืช ช่วยทำลายเมล็ดวัชพืชที่ติดมากับ เศษพืช รวมทั้งไข่ของแมลงที่มีอยู่ภายในกองปุ๋ยได้ กองปุ๋ยจะร้อนระอุอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง อาจกินเวลาประมาณ 15-20 วัน แล้วความร้อนจะค่อยๆ ลดลงไปเรื่อยๆ

ขณะเดียวกันเนื้อของเศษพืชที่ ใช้หมักก็เปื่อยยุ่ยลงและมีสีคล้ำขึ้น จนในที่สุดกองปุ๋ยก็จะเย็นลง เศษพืชกลายเป็น วัสดุที่มีลักษณะเป็นขุย ร่วนซุย มีสีดำหรือน้ำตาลเข้ม ยุบตัวลงเหลือประมาณ 1/3-1/4 ส่วน ของกองเดิม ก็จัดเป็นปุ๋ยหมักที่สลายตัวได้ที่ดีแล้ว สามารถเอาไปใช้โดยไม่เกิดอันตรายใดๆ ต่อพืช ระยะเวลาตั้งแต่ตั้งกองจนมาถึงช่วงนี้ใช้ เวลาประมาณสองเดือนครึ่ง ถึงสามเดือนครึ่ง อาจจะเร็วหรือช้ากว่านี้ไปบ้าง ก็แล้วแต่ชนิดของวัสดุที่ใช้ วิธีการตั้งกองปุ๋ย การปฎิบัติดูแลรักษา การให้ความชื้น ตลอดจนการกลับกองปุ๋ย

การทำปุ๋ยหมัก พอจะแบ่งได้เป็น 2 วิธีใหญ่ๆคือวิธีตั้งกองบนพื้นและวิธีหมักในหลุมหรือในถังซีเมนต์ ซึ่งมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป เมื่อคำนึงถึง สภาพโดยทั่วไปของชนบทในบ้านเราแล้ว เห็นว่า วิธีการตั้งกองปุ๋ยที่เหมาะสมที่สุดก็คือวิธีการตั้งกองบนพื้นดิน โดยไม่จำเป็นต้องทำกรอบหรือคอกไม้ล้อมรอบกอง วิธีนี้จะประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำปุ๋ยหมักได้มาก การปฎิบัติดูแลกองปุ๋ย ไม่ยุ่งยาก ไม่สิ้นเปลืองแรงงานมากนักในการเตรียมสถานที่ตั้งกองการ กลับกองหรือการขนย้ายปุ๋ ยหมัก สภาพการระบายอากาศของกองปุ๋ยดีกว่าและเศษพืชสลายตัวได้รวดเร็วกว่า ถ้าเป็นกองปุ๋ยขนาดใหญ่ก็สามารถใช้เครื่องยนต์ ทุ่นแรงได้สะดวก วิธีการตั้งกองปุ๋ยหมักมีรายละเอียดดังนี้คือ

1.การเตรียมสถานที่ บริเวณที่จะตั้งกองปุ๋ยควรเป็นที่ๆ น้ำไม่ ท่วม แต่ก็อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ ที่จะนำมาใช้รดกองปุ๋ยพอสมควร และควรเป็นบริเวณ ที่สามารถขนย้ายเศษพืชมาใช้หมักได้ง่าย รวมทั้งเอาปุ๋ยที่หมักเสร็จแล้วไป ใช้ได้สะดวก บริเวณที่จะกองปุ๋ยหมักให้ปรับให้เรียบไม่เป็นแอ่งให้น้ำขังได้
2.วัสดุที่ใช้ เศษพืช มูลสัตว์ ปุ๋ยยูเรีย หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต
3.การตั้งกอง นำเศษวัสดุมากองบนพื้นดิน ขนาดของกองกว้าง 2.5 เมตร สูง 1.2 เมตร ยาว 4 เมตร ถ้าต้องการหมักเศษพืชจำนวนมากกว่านี้ ก็อาจตั้งกองปุ๋ยให้ยาวขึ้นหรือตั้งเป็นกองใหม่อีกกองหนึ่ง การตั้งกองจะทำ เป็นชั้นๆ ระหว่างเศษพืช ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี ดังนี้ชั้นล่างสุด กองเศษพืชลงไปในขอบเขตกว้างยาวที่กำหนดไว้ กองให้สูงพอประมาณ กะว่าหลังจากรดน้ำแล้ว กองเศษพืชจะหนาประมาณ 6-8 นิ้ว จากนั้นโรยมูลสัตว์ลงบนเศษพืชให้ทั่ว ใช้มูลสัตว์ประมาณ 1 บุ้งกี๋ต่อพื้นที่ 1-2 ตารางเมตร (ใช้มูลสัตว์ประมวณ 5-10 บุ้งกี๋ต่อชั้น) คลุกเคล้าให้มูลสัตว์ผสมเข้าไปในเศษพืช รดน้ำให้ทั่ว ถ้าเศษพืชที่นำมากองเป็นเศษพืชแห้ง ไม่ค่อยเปียกน้ำ ต้องรดน้ำให้โชก เพื่อให้เศษพืชเปียกโดยทั่วถึงกัน แต่ถ้าเป็นเศษพืชสด ก็รดน้ำแค่พอให้เศษพืชเปียกชื้น

หว่านปุ๋ยเคมี ถ้าใช้ปุ๋ยยูเรียให้ใช้ปุ๋ยประมาณ 1.5-2 กิโลกรัมต่อชั้น ถ้าใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ให้ใช้ปุ๋ยประมาณ 3-4 กก. ต่อชั้น

จากนั้น เริ่มต้นกองเศษพืชในชั้นที่ 2 โดยวิธีเดียวกันกับในชั้นที่ 1 คือกองเศษพืช โรยมูลสัตว์ รดน้ำ จนเศษพืชเปียกชื้นโดยทั่วถึงกัน หว่านปุ๋ยเคมี กองเศษพืชเป็นชั้นๆ เช่นนี้เรื่อยไป จนกระทั่งได้กอง ปุ๋ยสูงตามขนาดที่ต้องการคือ 1.20 เมตร ซึ่งจะมีจำนวนชั้นของ กองเศษพืชประมาณ 6-8 ชั้น ในชั้นสุดท้ายหลังจากโรยปุ๋ยเคมีแล้ว ต้องรดน้ำตาม เพื่อให้ปุ๋ยเคมีละลายเข้าไปในกองปุ๋ย

การปฎิบัติดูแล รดน้ำ หมั่นตรวจตราคอยรดน้ำกองปุ๋ยอยู่เสมอ อย่าให้กองปุ๋ยแห้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 วัน หลังจากเริ่มตั้งกอง เศษพืชบางส่วน อาจจะยังค่อนข้างแห้ง อาจต้องรดน้ำให้เศษพืชเปียกชื้นอย่างทั่วถึงกันเสียก่อน จากนั้นจึงค่อยตรวจ ตราเป็นระยะๆ แต่ก็ต้องระวังอย่ารดน้ำจนแฉะเกินไป

การกลับกองปุ๋ย หลังจากตั้งกองปุ๋ยหมักแล้ว ต้องทำการกลับ กองปุ๋ยหมักอยู่เสมอ ยิ่งกลับกองบ่อยครั้งจะยิ่งเร่งให้เศษพืชแปรสภาพไปเป็นปุ๋ยหมักได้เร็วขึ้น อย่างน้อยที่สุดควรได้กลับกองปุ๋ยสัก 3 4 ครั้ง คือครั้งแรกเมี่อประมาณ 10 วัน หลังจากเริ่มตั้งกองปุ๋ย ครั้งที่สองก็ประมาณ 15 วัน หลังจากกลับกองครั้งแรก ต่อไปก็กลับกองทุกๆ 20 วัน จนเศษพืชแปรสภาพไปเป็นปุ๋ยหมักทั้งกอง

ถ้าฝนตกชุก ต้องระวังอย่าให้กองปุ๋ยเปียกแฉะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเศษพืชย่อยสลายไปมากแล้ว ควรพูนด้านบนของกองให้ไค้งนูนและหาวัสดุคลุมไว้บ้าง ไม่ให้น้ำฝนไหลเข้าในกองปุ๋ยมากเกินไป

การเก็บรักษา หลังจากหมักเศษพืชไปช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว ความร้อนภายในกองปุ๋ยจะค่อยๆ ลดลง เศษพืชก็เปื่อยยุ่ย สีคล้ำขึ้น เรื่อยๆ จนในที่สุดกองปุ๋ยก็เย็นตัวลง เศษพืชก็แปรสภาพไป กลายเป็นปุ๋ยหมัก ที่มีเนื้อปุ๋ยร่วนๆ เป็นขุย ยุ่ย นุ่มมือ สีน้ำตาลเข้ม ไม่มีกลิ่นเหม็น ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มตั้งกองจนถึงระยะที่กองปุ๋ยไม่ร้อนสามารถนำไปใช้ได้อย่างปลอดภัยนี้ ใช้เวลาประมาณสองเดือนครึ่ง ถึงสามเดือนครึ่ง อาจเร็วหรือช้าไปกว่านี้บ้าง ถ้ายังไม่นำปุ๋ยหมักนี้ไปใช้ทันที ควรเก็บรักษาไว้ในที่ร่ม มีหลังคากันแดด กันฝนหรือหาวัสดุคลุมไว้ไม่ให้ถูกฝนชะ ควรรักษาให้กองปุ๋ยชื้นและอัดกองปุ๋ย ให้แน่น

การใช้ปุ๋ยหมัก มีวัตถุประสงค์หลักก็เพื่อปรับปรุงสภาพของดินให้ เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช ถ้าจะให้ผลดีควรต้องใส่ในปริมาณที่มาก เพียงพอ และใส่อย่างสม่ำเสมอทุกปี ในเนื้อของปุ๋ยหมักแม้ว่าจะมีธาตุอาหารพืช อยู่แต่ก็มีไม่มากเหมือนกับปุ๋ยเคมี ดังนั้นถ้าต้องการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดย การเพิ่มเติมธาตุอาหารพืชลงไป จึงควรใส่ปุ๋ยเคมีร่วมไปกับ การใส่ปุ๋ยหมักด้วยจะให้ผลดีที่สุด ทั้งนี้ปุ๋ยหมักไม่เพียงแต่จะปลดปล่อยธาตุอาหาร ออกมาจำนวนหนึ่งเท่านั้น ยังมีบทบาทสำคัญช่วยให้การใช้ปุ๋ยเคมีเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ

อัตราการใส่ปุ๋ยหมักในดินแด่ละแห่งก็แตกต่างกันไป แล้วแต่สภาพ ของดินและชนิดของพืชที่ปลูก ถ้าดินเป็นดินที่เสื่อมโทรม มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำหรือดินที่มีเนื้อดินเป็นดินทรายจัด ก็ควรต้องใส่ปุ๋ยหมักให้มากกว่าปกติ ปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วจัดเป็นปุ๋ยที่สามารถใส่ให้กับพืชในปริมาณมากๆ ได้ไดยไม่เกิดอันตราย ดังนั้นถ้าผลิตปุ๋ยหมักได้มากพอแล้ว เราสามารถใส่ลงไป ในดินให้มากเท่าที่ต้องการได้ แด่ก็ไม่ควรใส่มากเกินอัตราปีละ 20 ตันต่อไร่ เพราะอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อดินได้ ่

การใช้ปุ๋ยหมักกับพืชผัก พืชผักส่วนใหญ่เป็นพืชที่มีระบบราก แบบรากฝอย รากสั้นอยู่ตื้นๆ ใกล้ผิวดิน การใส่ปุ๋ยหมักจะมีประโยชน์มาก เพราะช่วยให้ดินร่วนซุยขึ้น ทำให้รากของพืชผักเจริญเติบโตได้รวดเร็ว แตกแขนงแพร่กระจายไปได้มาก มีระบบรากที่สมบูรณ์ ทำให้สามารถดูดซับ แร่ธาตุอาหารได้รวดเร็ว ทนต่อการแห้งแล้งได้ดีขึ้น วิธีการใส่ปุ๋ยหมักใน แปลงผักอาจใช้วิธีโรยปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว คลุมแปลงให้หนาประมาณ 1-3 นิ้ว ใช้จอบสับผสมคลุกเคล้าลงไปในดินให้ลึกประมาณ 4 นิ้ว หรือลึกกว่านี้ถ้าเป็นพืชที่ลงหัว

พืชผักเป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็ว ต้องการแร่ธาตุอาหารจาก ดินเป็นปริมาณมาก ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ถ้าจะให้ผลผลิตที่ดีควรใส่ปุ๋ยเคมี ร่วมไปกับการใส่ปุ๋ยหมักด้วย การใช้ปุ๋ยหมักกับไม้ผลหรือไม้ยืนต้น ไม้ผลหรือไม้ยืนต้นเป็น พวกที่มีระบบรากลึก การเตรียมดินในหลุมปลูกให้ดีจะมีผลต่อระบบรากและการเจริญตั้งตัวของต้นไม้ในช่วงแรกเป็นอย่างมาก ในการเตรียมหลุมปลูกควรขุดหลุมให้ลึก แล้วใช้ปุ๋ยหมักผสมคลุกเคล้ากับดินที่ขุดจากหลุมในอัตราส่วนดิน 2-3 ส่วน กับปุ๋ยหมัก 1 ส่วน ใส่กลับลงไปในหลุมเพื่อใช้ปลูกต้นไม้ต่อไป

การใส่ปุ๋ยหมักสำหรับไม้ผลที่เจริญเติบโตแล้วอาจทำโดยการพรวนดินรอบๆ ต้น ห่างจากโคนต้นประมาณ 2-3 ฟุต ออกไปจนถึงนอกทรงพุ่มของ ต้นประมาณ 1 ฟุต พรวนดินให้ลึกประมาณ 2 นิ้ว โรยปุ๋ยหมักให้หนาประมาณ 1 นิ้ว หรือมากกว่า ใช้จอบผสมคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน แล้วรดน้ำหรือจะใช้ วิธีขุดร่องรอบๆ ทรงพุ่มของต้นให้ลึกประมาณ 30-50 เซนติเมตร แล้วใส่ปุ๋ย หมักลงไปในร่องประมาณ 40-50 กิโลกรัมต่อต้น ใช้ดินกลบแล้วรดน้ำ ถ้าจะใส่ปุ๋ยเคมีด้วยก็ผสมปุ๋ยเคมีคลุกเคล้ากับปุ๋ยหมักให้ดีแล้วใส่ลงไปพร้อมกัน การใส่ปุ๋ยหมักตามวิธีดังกล่าวมานี้ เป็นการใส่ปีละครั้งและเมื่อต้นไม้ มีขนาดโตขึ้นก็ควรเพิ่มปริมาณปุ๋ยหมักตามขนาดของต้นไม้ด้วย

การใส่ปุ๋ยหมักกับพืชไร่หรือนาข้าว ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ปานกลาง แนะนำให้ใส่ปุ๋ยหมักในอัตราอย่างน้อยปีละ 1.5-2.5 ตันต่อไร่ หว่านให้ทั่วแปลงแล้วไถหรือคราดกลบก่อน การปลูกพืชในดินที่มีความอุดม-สมบูรณ์ต่ำหรือผืนดินเสื่อมโทรม อาจต้องใส่ปุ๋ยหมักในอัตราที่มากกว่านี้ เช่นปีละ 2-3 ตันต่อไร่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพของดินและปริมาณการผลิตปุ๋ยหมัก พื้นที่ที่ใช้ปลูกพืชไร่หรือทำนาเป็นพื้นที่กว้าง ปริมาณปุ๋ยหมักที่ใส่ลงไป ในแต่ละปีอาจไม่เพียงพอ ถ้าดินนั้นไม่อุดมสมบูรณ์การปรับปรุงความอุดม-สมบูรณ์ของดินควรต้องใช้ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมี หรือการจัดการดินวิธี อื่นๆ เช่น การใช้ปุ๋ยพืชสดเป็นต้น

การใช้ปุ๋ยหมักกับพืชอื่นๆ นอกจากจะใช้กับพวกพืชไร่ พืชสวน ดังกล่าว มาแล้ว ปุ๋ยหมักยังสามารถใช้กับพวกไม้ดอกไม้ประดับได้เป็นอย่างดี ถ้าปลูกเป็นแปลงใช้อัตราเดียวกันกับที่ใช้ในแปลงผักคือโรยปุ๋ยหมักคลุม แปลงให้หนาประมาณ 1-3 นิ้ว แล้วใช้จอบสับผสมลงไปในดินให้ลึกประมาณ 4 นิ้ว การใช้ทำวัสดุปลูกสำหรับไม้กระถาง ใช้ปุ๋ยหมัก 1 ส่วน ผสม กับดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์ 2 ส่วน ถ้าผสมปุ๋ยหมักในอัตราส่วนมากๆ วัสดุปลูก มักจะแห้งเร็วเกินไป และมีปัญหาเรื่องวัสดุปลูกยุบตัวมาก

การเตรียมดินสำหรับเพาะเมล็ดหรือปลูกต้นกล้า ใช้อัตราส่วน ปุ๋ยหมัก 1 ส่วน ทราย 1 ส่วนและดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์ 2 ส่วน ถ้าใช้เพาะเมล็ดพืชที่มีขนาดเล็กๆ ก็ใช้เมล็ดโรยหรือวางบนวัสดุเพาะดังกล่าว จากนั้นใช้ปุ๋ยหมักโรยบางๆ ทับลงไปแล้วรดน้ำ